[ รีวิว ] Hometown Cha Cha Cha ซีรีส์ที่มีดีมากกว่าการมอบรอยยิ้ม

Hometown Cha Cha Cha นอกเหนือจาก ‘ Squid Game เกมเล่นลุ้นตาย’ ก็มี ‘โฮมทาวน์ ชะชะช่า’ ที่คอยครองหน้าฟีดของเราทุกสุดสัปดาห์ ด้วยเรื่องราวโรแมนติกคอมเมดี้ฟีลกู้ดชวนให้ยิ้มตามของ ‘ยุนฮเยจิน’ หมอฟันสาวที่ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่กงจิน เมืองเล็กๆ ริมทะเลที่ไม่มีคลีนิกทำฟันสักร้านเดียว และเธอก็ได้เจอกับ ‘ฮงดูชิก’ หรือหัวหน้าฮง ผู้ชายที่รับจ้างทั่วไปไปทั่วเมืองและเป็นที่รักของคนในเมือง แต่ภายใต้หน้ายิ้ม ๆ เขามีปมในใจที่ไม่มีใครรู้มาก่อน และเขาสองคนก็พัฒนาความสัมพันธ์และคลายปมในใจไปด้วยกัน ดูรวม ๆ แล้ว ‘โฮมทาวน์ ชะชะช่า’ ก็ดูคล้ายกับซีรีส์โรแมนติกคอมเมดี้ทั่วๆ ไป ที่ขายความน่ารักกุ๊กกิ๊ก เคมีของพระเอกนางเอก เหมือนที่ผู้กำกับยูเจวอนเคยพูดไว้ตอนแถลงข่าวว่า “นี่ไม่ใช่ซีรีส์ที่มีเหตุการณ์ มีปมใหญ่ ๆ แต่เป็นเรื่องราวเล็ก ๆ ของชีวิตประจำวัน” เสน่ห์ของเรื่องเลยไม่ใช่ความแปลกใหม่ แต่เป็นความอบอุ่นที่ช่วยเยียวยาหัวใจในวันที่เรารู้สึกเหนื่อยล้า จริงอยู่ว่าเรื่องนี้เล่นมุขซ้ำ ๆ ที่เราเห็นในซีรีส์อยู่บ่อย ๆ ให้หลายจุด ทั้งการเจอกันที่เป็นเหมือนโชคชะตา มีซ็อตล้มจ้องตา ความบังเอิญจนเกือบน้ำเน่า และในบางครั้งเหตุผลของตัวละครอาจจะดูอ่อน ๆ ไปบ้าง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาใหญ่เมื่อ มีตัวละครที่เข้าถึงง่าย ชวนให้หลงรัก นักแสดงที่มีเสน่ห์ เคมีล้นจอ และบทที่มีข้อดี ๆ ให้เราคิดตามได้ทุกตอนโดยไม่รู้สึกว่ายัดเยียด ไปจนถึงองค์ประกอบศิลป์ที่ดีงาม ฉากสวย มุมกล้องและงานภาพก็สบายตา และเพลงประกอบซีรีส์ที่ต้องชื่นชมเป็นพิเศษว่าเพราะทุกเพลง ทั้งหมดนี้ทำพาให้ ‘โฮมทาวน์ ชะชะช่า’ เป็นซีรีส์ที่สมบูรณ์แบบสำหรับวันหยุดที่ต้องการความผ่อนคลาย แต่ไม่ได้เบาหวิวจนรู้สึกว่าไร้สาระ เพราะซีรีส์ได้ซ่อนการสะท้อนสังคมไว้อย่างแนบเนียน หากเราดูแนวคิดแบบหัวหน้าฮง ที่ฉีกสูตรสำเร็จของชีวิตหลังจบมหาวิทยาลัย อย่างการ ทำงานบริษัทใหญ่ มีแฟน แต่งงาน ซื้อบ้าน มีลูก ก็อาจจะมองได้ว่าเขาเป็นตัวแทนของกลุ่มที่เรียกว่า เอ็นโพเจเนอเรชั่น (N-Po Generation) ที่หมายถึงคนอายุในช่วงวัย 20 หรือ 30 ปีที่ยอมแพ้กับชีวิตในเกาหลีใต้ เอ็นโพเจเนอเรชั่น มีที่มาจาก N ที่สื่อถึงความไม่มีจุดสิ้นสุดของอินฟินิตี้ และ โพมาจาก 포기하다 (อ่านว่า ‘โพกีฮาดา’) ที่แปลว่าการยอมแพ้ในภาษาเกาหลี ซึ่งพัฒนามาจากคำว่า ‘ซัมโพ’ ที่มาจากการยอมแพ้ในสามเรื่องคือ การมีแฟน การแต่งงาน และการมีลูก และพัฒนาต่อมาเป็น ‘โอโพ’ โดยโอแปลว่า 5 คือการยอมแพ้ห้าเรื่อง เพิ่มเติมจากสามข้อข้างต้นอีกสองอย่างคือ การมีงานทำและการซื้อบ้านเป็นของตัวเอง จากนั้นก็กลายเป็น 7 เรื่อง และ 9 เรื่อง คือยอมแพ้เรื่องความสัมพันธ์ ความหวัง รูปร่างหน้าตา เรื่อยไปจนกลายเป็นยอมแพ้ทุกอย่างนับเป็นอนันต์ แล้วจึงกลายสภาพเป็นคำว่าเอ็นโพเจเนอเรชั่นในที่สุด เอ็นโพเจเนอเรชั่น เป็นปัญหาที่ลามมาจาก ปัญหา ‘นรกโชซอน’ ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยิน คือการที่สังคมเกาหลีใต้เนี่ยเป็นสังคมที่มีการแข่งขันและความกดดันสูง แข่งขันเพื่อที่จะเข้ามหาลัยดี ได้งานที่ดี และต้องแข่งขันกับคนที่มีโอกาสและเส้นสายมากกว่า และเมื่อได้ทำงานจริงก็พบการทำงานอาจจะไม่พาให้หลุดพ้นความจนได้ทำให้ชีวิตสิ้นหวังเหมือนอยู่ในนรก ติดอยู่ในสมัยโบราณที่ศักดินาคือการกำหนดชีวิตของคน สิ่งนี้จึงทำให้เกิดแนวคิดการยอมแพ้แบบเอ็นโพเจเนอเรชั่น เพราะแค่การใช้ชีวิตคนเดียวก็ลำบากและมีค่าใช้จ่ายมากพอแล้ว การเดท การแต่งงาน การมีบ้านและมีลูกที่ต้องใช้เงินมากจึงเหมือนเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมหรือเป็นภาระ ความคิดอบบนี้มีผลทำให้อัตราการเกิดในเกาหลีใต้ (ข้อมูลปี 2020)  ลดไป 10% และทำให้อันตราการเกิดลดต่ำกว่าการตาย โดนมีเด็กเกิดอยู่ที่ 272,400 คน แต่ในขณะที่มีคนเสียชีวิตอยู่ที่  305,100 คน ซึ่งเป็นปัญหาที่หนักหน่วงสำหรับเกาหลีใต้ เพราะจะนำมาสู่ปัญหาการขาดแรงงานและส่งผลกระทบหนักต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ไปจนถึงปัญหาการมีเมืองที่ถูกทิ้งร้างเมือง เนื่องจากประชากรลดน้อยลง นอกเหนือจากปัญหาเดิมที่คนรุ่นใหม่ย้ายออกไปทำงานในเมือง หรือไปต่างประเทศและไม่กลับบ้านเกิด เมื่อต้นปีนี้เว็บไซต์ asiaone รายงานว่า มี 105 เมือง และอีก 228 อำเภอ หรือเขต ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์เพราะมีจำนวนประชากรผู้หญิง อายุ 20-39 ไม่ถึงครึ่งของผู้สูงอายุในพื้นที่และทำให้พื้นที่นั้นอาจจะถูกลบหายไปจากแผนที่ไปในอีก 30 ปีข้างหน้า หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข แต่แทนที่จะนำเสนอเอ็นโพเจเนอเรชั่นว่าเป็นภัยต่อสังคม และเป็นกลุ่มคนที่ต้องถูกปรับแนวคิดใหม่ แต่ ‘โฮมทาวน์ ชะชะช่า’ กลับนำเสนอปัญหาเหล่านี้อย่างนุ่มนวลและคอยปลอบโยนหัวใจผู้ชม โดยชี้ให้เห็นว่าการที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จตามขนบเดิม ๆ ของสังคม ไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป Army of Thieves นี่จึงเป็นซีรีส์อีกเรื่องที่ผู้ชมจะได้เห็นความฉลาดของซีรีส์เกาหลี ที่สามารถใช้ soft […]

[ รีวิว ] Army of Thieves งานภาคแยกที่บันเทิงไม่แพ้ภาคหลัก

Army of Thieves ผลงานต่อยอดความสำเร็จของ แซ็ก ชไนเดอร์ ที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น หลังจากได้รับกระแสตอบรับอย่างดีจาก Zack Snyder’s Justice League แล้วก็มี Army of the Dead ตามมาติด ๆ ซึ่งก็ยังคงประสบความสำเร็จ เพราะสร้างยอดผู้ชมให้ Netflix ได้มากถึง 75 ล้านวิว นับเป็นการกลับมาทำหนังซอมบี้ครั้งแรกในรอบ 17 ปีของชไนเดอร์ และการกลับมาครั้งนี้ก็ไม่ใช่การกลับมาแบบฉาบฉวย ทำแค่เรื่องเดียวจบ แต่ชไนเดอร์สร้างจักรวาลซอมบี้ของตัวเองขึ้นมาใหม่เลย ด้วยการสร้างสรรค์เหตุการณ์ฉากหลังและตัวละครขึ้นมาใหม่ 10 กว่าคน แม้จะเป็นหนังที่มีตัวละครมากมายแย่งเวลากันปรากฏตัวบนจอ ในช่วงเวลา 2 ชั่วโมง 28 นาที แต่หนึ่งในตัวละครที่มีบุคลิกอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และสามารถทำให้คนดูชื่นชอบและจดจำเขาได้ นั่นก็คือ ดีเทอร์ นักสะเดาะเซฟมือฉมังชาวเยอรมัน ที่ชไนเดอร์ก็มองเห็นแววว่า แมทเธียส ชเวกโฮเฟอร์ (Matthias Schweighöfer) นักแสดงผู้นี้ไม่ธรรมดาและสามารถต่อยอดความสำเร็จต่อไปได้อีก จึงเป็นที่มาของ Army of Thieves […]

[ รีวิว ] Squid Game ชีวิตจริงโหดร้าย เกมแห่งความตายจึงเป็นความหวัง

Squid Game ซีรีส์แนวเกมรอดชีวิตที่ขึ้นอันดับหนึ่งของ Netflix ไปหลายที่รวมถึงในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ที่มีดีมากกว่าการพลีชีพเพื่อเงินรางวัล เมื่อมองผ่าน Squid Gameอาจดูเหมือนซีรีส์แนวเซอร์ไววัลธรรมดาทั่วไป ด้วยเรื่องที่ว่าด้วยการแข่งขัน เพื่อชิงเงินรางวัล 45,600 ล้านวอน ที่เดิมพันด้วยชีวิตในเกมเด็กเล่น 6 ด่าน แต่ Squid Gameมีความแตกต่างด้วย บทที่ไร้ความปราณี ความง่ายของกติกาที่ทำให้เกมน่ากลัวกว่าเดิม งานอาร์ตไดเรกชั่น มุมกล้อง และการจัดแสงที่โดดเด่น เพลงประกอบที่ชวนกดดันและเพิ่มความเหนือจริง และความหมายแฝงที่อัดแน่นในทุกอณูทำให้ยิ่งดูยิ่งเห็นภาพของชีวิตจริงซ้อนทับกับเหตุการณ์ในเรื่อง เพราะทุกด่านและกฏกติกาต่างเป็นภาพสะท้อนของโลกภายนอก เรื่องเริ่มมาด้วยการปูให้เห็นสังคมที่สะท้อนถึง ‘นรกโชซอน’ คำที่คนรุ่นใหม่ในเกาหลีใช้เรียกประเทศตัวเองที่ไม่ว่าจะพยายามให้ตายแค่ไหนก็ยากที่จะหลุดพ้นจากความจนได้ ผ่านทางสายตาของ ‘ซองกีฮุน’ (รับบทโดย อีจองแจ) ชายผู้ล้มเหลวในชีวิต คนต้องฝากความหวังไว้กับการรวยจากดวงอย่างการเล่นพนันม้า และแม้ว่าเขาจะโชคดีได้เงินมา แต่หนี้สินก็ทำให้เขาไม่มีวันลืมตาอ้าปากได้ จนสมัครเข้าร่วมเล่นเกมเพราะมันคือความหวังสุดท้ายของการหลุดพ้น แม้อาจจะต้องเจอนรกอีกขุมก็ตาม เช่นเดียวกับผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ซึ่งต่างก็เป็นคนตัวแทนของกลุ่มคนที่ถูกสังคมทุนนิยมต้อนให้จนตรอกในวงจร จน เครียด เป็นหนี้ ซ้ำซ้อนไปมา ในขณะที่พวกเขาพยายามจะต่อสู้เพื่อจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม เช่น ซองกีฮุน No.456 – ตัวแทนของชนชั้นแรงงาน (blue collar) เรียนไม่จบมัธยม ถูกให้ออกเพราะบริษัทต้องการลดคน พยายามทำธุรกิจแต่ก็เจ๊ง ติดหนี้หัวโต ครอบครัวแตกแยก  โจซังอู No.218 (รับบทโดย พัคแฮซู) – ตัวแทนของพนักงานออฟฟิศ (white collar) บ้านไม่มีฐานะนัก เรียนจบมหาวิทยาลัยชั้นนำ และต้องการหนีให้พ้นชีวิตของชนชั้นกลางแต่ก็ล้มเหลว อาลี No.199 (รับบทโดย อนุพัม ตรีปาที) – ตัวแทนของแรงงานต่างด้าว ชนชั้นล่างสุดในปีรามิด Army of Thieves [เนื้อหาในบทความต่อไปนี้ มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องที่อาจส่งผลต่ออรรถรสในการชมได้] ‘ทุกคนเท่าเทียมกันในเกมนี้ ผู้เล่นทุกคนแข่งขันกันอย่างยุติธรรม ภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน พวกเขาทรมานจากความไม่เท่าเทียมและการแบ่งแยกจากโลกภายนอก เราให้โอกาสสุดท้ายที่จะต่อสู้อย่างเท่าเทียมและเอาชนะได้แก่พวกเขา’ มองโดยรวมโลกในเกมช่างดูเป็น ‘ประชาธิปไตย’ และเท่าเทียมกว่าข้างนอกมาก มีกฏง่าย ๆ เพียง 3 ข้อคือ ห้ามหยุดเล่นโดยพลการ ผู้เล่นที่ไม่ยอมเล่นเกมจะตกรอบ  และ จะสามารถยุติเกมลงได้หากผู้เล่นเกินครึ่งยินยอม ไม่มีการบังคับให้สมัครเข้าเล่นเกม ทุกคนใส่ชุดเหมือนกัน ได้รับอาหารเท่ากัน เล่นเกมภายใต้กติกาเดียวกัน แต่หากมองให้กว้างขึ้นจะเห็นความว่ามันคือความเท่าเทียมจอมปลอม เพราะขณะผู้เข้าแข่งขันกำลังเดินขึ้นบันไดไปทำหน้าที่ของตน มีคนอีกกลุ่มได้ทางลัดขึ้นลิฟท์ไปอยู่เหนือพวกเขา ทั้งเจ้าหน้าที่ชุดชมพูที่ปิดหน้า ทำหน้าที่อย่างแข็งขันโดยห้ามมีความเห็น ‘ฟรอนท์แมน’ คอยคุมกฏทุกอย่างและรายงานต่อ ‘วีไอพี’ ที่คอยดูอย่างสนุกสนานโดยใช้คำว่า ‘ให้โอกาส’ เป็นการบังหน้า ทั้งที่ความจริงการทำแบบนี้ก็ป่าเถื่อนไม่ต่างอะไรกับความของนักเลงทวงหนี้เมื่อต้นเรื่อง  หากเปรียบผู้เข้าแข่งเป็นประชาชน เจ้าหน้าชุดชมพูและฟรอนท์แมนคือรัฐ วีไอพีที่มาจากหลายชาติ ก็อาจจะสื่อถึงกลุ่มธุรกิจใหญ่หรือแชโบลที่แทบจะเรียกได้ว่าครอบครองประเทศในเกาหลีใต้และทุนต่างชาติจากประเทศมหาอำนาจที่คอยชักใยทุกอย่างอยู่เบื้องหลังในจุดที่สูงกว่าจนผู้เข้าแข่งขันได้แค่ภาวนาถึง สื่อผ่านการแต่งฉากให้คล้ายเป็นสัญลักษณ์ของสวนอีเดนในสวรรค์ต่างกับนรกที่ผู้เข้าแข่งขันกำลังเผชิญ ตัวเกมเองก็เป็นการเสียดสีกฏหมายและการใช้ชีวิตในสังคม เช่น ‘เกมเออีไอโอยู หยุด’ สื่อถึงการบังคับใช้กฏหมายอย่างเข้มงวด แต่ก็หลีกเลี่ยงได้หากไม่มีใครเห็น และสารนี้ถูกตอกย้ำยิ่งขึ้นเมื่อเราดูในภาษาเกาหลีที่เด็กน้อยจะพูดว่า ‘무궁화 꽃이 피었습니다’ หรือ ดอกมูกุงฮวาบานแล้วแทน ‘เออีไอโอยู หยุด’ ซึ่งแม้จะเป็นบทพูดในการละเล่นที่มีมายาวนาน แต่เมื่อดอกมูกุงฮวา ดอกไม้ประจำชาติของเกาหลีที่อยู่ในธงและสัญลักษณ์ของหน่วยงานรัฐเข้ามาปรากฎในบริบทนี้ก็ยิ่งทำให้การเสียดสีอำนาจรัฐชัดยิ่งกว่าเดิม เกมน้ำตาลแผ่น และเกมข้ามสะพานหิน อาจสื่อถึงสังคมที่ไม่มีพื้นที่ให้ข้อผิดพลาด และการทำพลาดแม้แต่นิดเดียวอาจจะต้องจ่ายด้วยชีวิต สะท้อนความเป็นประเทศที่มีความกดดันสูงจนมีสถิติฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับต้นในเอเชีย และทางรอดอาจอยู่ที่การใช้กลโกงหรือทำร้ายคนอื่น Hometown Cha Cha Cha และเมื่อเรานำตัวละครเหล่านี้ไปไว้ในฉากที่เป็นตัวแทนของชีวิตจริงเราจะเห็นภาพของชีวิตจริงที่ซ่อนไว้ในSquid Game  การฟอร์มทีมเกมชักเย่อหรือลูกแก้วผู้หญิงและคนชราจะถูกเลือกเป็นคนท้าย ๆ ก็ชวนให้นึกถึงข่าวการเลือกจ้างงานผู้ชายมากกว่า  การที่อาลีถูกเอาเปรียบในเกมด้วยความที่เป็นคนต่างด้าว ไม่ต่างกับชีวิตจริงข้างนอกของอาลีและแรงงานต่างด้าวทั่วโลก  กฏที่สุดจะแฟร์ก็มีรอยรั่วได้ถ้าคุณมีผลประโยชน์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ สะท้อนถึงการใช้อำนาจในทางมิชอบ  ความเมินเฉยของเจ้าหน้าที่ ที่ปล่อยให้ใครทำอะไรได้ตามใจหากไม่ระบุไว้ในกฏ แม้ว่าจะผิดศีลธรรมก็ตาม  การที่ ‘โออิลนัม’ ผู้เข้าแข่งขันหมายเลข No.001 […]